ชีวิตบางช่วงนั้นบางทีก็เลือกไม่ได้ การพบกับความรักในจังหวะที่ผิดที่ผิดเวลา และผิดแผกจากสังคมหมู่มากทำให้ถูกตั้งคำถามตามมาคือความเหมาะสม แล้วเราเลือกเหตุผลหรือความรู้สึก นี่คือสิ่งที่ Loving Annabelle พาไปดูความรักของคนคู่หนึ่งที่เข้ากรณีที่ว่า และไม่น่าจะไปด้วยกันได้ (เมื่อดูกันเผินๆ) ด้วยเรื่องราวความรักระหว่างครูกับลูกศิษย์ในโรงเรียนคาทอลิกหญิงล้วน ซีรี่ย์ชายรักชาย
ทว่า Loving Annabelle ไม่ได้ถูกสร้างมาในเชิงอีโรติคชู้สาว หรือดูต่ำต้อยทางจริยธรรม แต่ดำเนินเรื่องเล่าผ่านภาพ และฉากที่มีนัยยะทางสัญลักษณ์ และบทสนทนาฉลาดที่กินความลึกซึ้ง ครอบคลุมไปถึงเรื่องราว รวมทั้งตัวละครที่ต้องการจะสื่อความรู้สึกที่ปิดกั้นนั้น ในลักษณะที่บทภาพยนตร์บางส่วนราวกับหยิบจับกลิ่นอายจากนวนิยายคลาสสิค “นาร์ซิสซัส กับ โกลด์มุนด์” ซึ่งพรรณนาเรื่องราวของครูกับลูกศิษย์ในโรงเรียนพระคริสต์ที่ต่างได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันผ่านการสนทนาในเชิงปรัชญาเพื่อรู้จักตัวตนอันถ่องแท้ของตัวเอง
เฉกเช่นเดียวกับใน Loving Annabelle ที่ฉากหลังคือโรงเรียนคาทอลิกหญิงล้วน “ซิโมน”
คือครูสอนวรรณคดีอังกฤษ กับ “แอนนาเบล” นักเรียนเจ้าปัญหาที่เพิ่งถูกไล่ออกจากโรงเรียนสองแห่งก่อนจะมาลงเอยโรงเรียนคาทอลิกเพื่อดัดนิสัย
หนังใช้การบอกเล่าความรู้สึกส่วนลึกของตัวละครผ่านกวีนิพนธ์ที่ถูกหยิบยกมาวิเคราะห์ในชั้นเรียนที่ชื่อ Song of Myself ของ วอล์ท วิทแมน โดยอิงการตีความกวีนิพนธ์นี้ผ่านความเข้าใจตัวตนของผู้แต่ง ซึ่งวิทแมนเองก็เป็นนักเขียน ซึ่งเป็นเกย์
การที่ตัวละครสองคนพูดคุยถึงกวีนิพนธ์ชิ้นนี้นอกจากชัดในความรู้สึกของตัวละครแล้ว เนื้อหาของกวีนิพนธ์เอง ที่มีนัยว่านอกจากคู่ตรงข้ามแล้ว โลกนี้ยังมีอีกด้านที่น่าจะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ด้วยเช่นกัน
ธรรมชาติที่ไม่ว่าเพศใดต่างก็มีความเชื่อมโยงถึงกันในทุกสิ่งและทุกคน และในแก่นของมันแล้วเราก็ไม่มีใครต่างกัน เช่น ที่นาร์ซิสซัสเอ่ยกับโกล์ดมุนด์ลูกศิษย์ของเขาว่า จุดหมายของเราไม่ใช่การเป็นซึ่งกันและกัน แต่เราจะต้องรู้จักกันและกัน เราจะต้องเรียนเพื่อจะได้เห็นและให้เกียรติแก่สิ่งที่เราเป็น เราต่างเป็นส่วนตรงข้ามของกันและกัน และสองสิ่งนี้คือความสมบูรณ์ (ในนวนิยายเรื่องนี้มีการถกเถียงตีความถึงประเด็นเพศที่สามที่ทั้งอาจมีหรือไม่มีก็ได้)
Loving Annabelle ยังตั้งใจนำเสนอว่าความรักระหว่างครูกับลูกศิษย์ และยิ่งเป็นเพศเดียวกันนั้นเป็นสิ่งน่าละอายหรือผิดบาปหรือไม่ ซึ่งลักษณะนี้ปรากฏให้เห็นผ่านภาษาหนังที่หลายฉากระหว่างการสนทนาของซิโมนและแอนนาเบล มักจะมีไม้กางเขนเป็นแบ๊คกราวน์ โดยหนังพาเราไปเห็นปมของซิโมนเมื่อครั้งยังเป็นนักเรียนสาว เธอก็ไม่ต่างจากแอนนาเบล เพียงแต่เมื่อเวลาผ่านไปสถานภาพตำแหน่งหน้าที่การงาน วุฒิภาวะ และสิ่งแวดล้อม ทำให้ซิโมนต้องต่อต้านความรู้สึกของตัวเอง
สัญลักษณ์หลายอย่างในโรงเรียนคาทอลิกได้ตอกย้ำให้ ซิโมนกำลังต่อสู้กับความรู้สึก และเหตุผล
ผ่านประเด็นจริยธรรม อาทิ การให้แอนนาเบลต้องถูกลงโทษด้วยการคล้องลูกประคำ และการให้ตัวละครต้องฟังเทศน์ที่ย้ำถึงทางสู่พระเจ้า และไม่หลงเดินทางบาป (หนังยังแอบแรงด้วยการที่ตัวละครอธิการโรงเรียนมีความน่าสงสัยว่าจะเป็นโฮโมเซ็กชวล แต่พยายามสร้างภาพเป็นโฮโมโฟเบีย)
ภาษาหนังใน Loving Annabelle ทำให้เห็นถึงตัวละครที่กำลังมีความรู้สึกคาบเกี่ยวกับความละอาย
และเป็นคนบาป ซึ่งในสังคมตะวันตกกลุ่มที่เหยียดเพศที่สาม หรือมีลักษณะโฮโมโฟเบียบางคนจะอ้างเรื่องของพระเจ้า และไบเบิ้ลมาเป็นกรอบจำกัดสิทธิของกลุ่มเพศที่สาม ซึ่งแม้หนังเรื่องนี้จะมีประเด็นที่หนัก และพล็อตที่ค่อนข้างแรง แต่การนำเสนอในเชิงโรแมนติกทำให้หนังรอดพ้นประเด็นคำถามด้านจริยธรรม
No comments:
Post a Comment